งานกินดอง บายศรีสู่ขวัญ ประเพณีแต่งงานของชาวอีสาน
Nidjarin and Manon is a couple from north-eastern (Isaan) of Thailand. They want to conserve the traditional wedding. That’s “Bai Sri Su Khawn” ceremony. The Bai Sri Su Khawn ceremony is traditionally practiced amongst the people of the North and Northeast of Thailand, and is similar in Lao culture. This ceremony is for the blessing and recall of spirits. The components of the ceremony include a tray decorated with folded beautiful banana leaves and a Master of Ceremonies (Mor Khawn). Mor Khawn chanting is in both Thai and Pali languages. The meaning of the chanting mostly teaches the couple about married life and blesses them.
The ceremony started when the groom with his family and friends made a short distance walk to our home passing “Pra tu ngen – Pra tu tong”, which literally means “silver and gold gate”. This is symbolic as a barrier of love that eventually the groom will get through.
The ceremony ends with families and guests binding the wrist of the groom and bride with white cotton to wishing them good luck and money can (and was) given to them to start their new family. The groom’s family will receive gifts from the bride, usually handmade silk clothes, traditionally made by the bride.
แม้ว่าในปัจจุบันหลายคนอาจจะคุ้นชินกับภาพของการแต่งงานตามแบบตะวันตก ที่มีทั้งการแลกแหวน ตัดเค้ก รินแชมเปญ หรือโยนช่อดอกไม้ แต่แท้ที่จริงชาวไทยเราเองก็มีประเพณีการแต่งงานที่เฉพาะดั้งเดิมและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อย่างประเพณีการแต่งงานของชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ซึ่งชาวอีสานเรียกขานประเพณีแต่งงานนี้ว่า “ประเพณีกินดอง” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมไทยที่สืบสานกันมายาวนาน โดยเรียกกันในภาษาอีสานว่า “การกินดอง” หมายถึง การนับเป็นญาติเป็นครอบครัวเดียวกันด้วยพิธีมงคลสมรสนั่นเองค่ะ
ในงานกินดอง หรืองานแต่งงาน ก็อาจจะไม่มีการจัดพิธีสงฆ์ แต่จะเริ่มต้นด้วยการยกขันหมากมาสู่ขอเจ้าสาว พิธีหมั้น รับไหว้ผู้ใหญ่ และการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ ซึ่งเราจะมีหมอขวัญที่มีความชำนาญมาช่วยดำเนินพิธีให้ พิธีบายศรีสู่ขวัญ สามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า พิธีสู่ขวัญ เป็นพิธีการมงคลที่นิยมปฏิบัติกันแถบภาคเหนือและภาคอีสาน ตามความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาพร้อมขวัญที่คอยดูแลรักษา ติดตามเจ้าของให้สุขกายสบายใจเป็นปกติ ซึ่งพิธีบายศรีสู่ขวัญนี้ ชาวไทยเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่จะช่วยส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็งนั่นเอง
Leave a Reply